ดาวน์โหลด     ----->>  
  

 การให้รูปพรรณสัณฐานที่ถูกต้องเป็นการช่วยเหลือตำรวจในการจับคนร้าย
           ความสูง
           ผม (แบบ
, สี)

       รูปหน้า องค์ประกอบ
       เสื้อ (แบบ / สี)
       ตำหนิอื่นๆ
       เชื้อชาติ อายุ
       รอยสัก
       รูปร่าง แผลเป็น
       ชนิดอาวุธ
       ส่วนใดพิการ
       กางเกง (แบบ / สี)

การสังเกต จดจำ ตำหนิรูปพรรณบุคคล หรือคนร้าย
     1. หลักของสังเกตุ จดจำ ตำหนิรูปพรรณ มีดังนี้
         
1.1 สังเกต จดจำ สิ่งที่ใหญ่เห็นได้ง่ายไปสู่สิ่งที่เล็กเห็นยาก
         1.2 สังเกต จดจำ ลักษณะเด่นตำหนิไปสู่ลักษณะปกต ธรรมดา
         1.3 พยายามอย่าจดจำทุกสิ่งทุกอย่าง แต่ให้จดจำบางสิ่งบางอย่างที่ท่านจดจำได้อย่างแม่นยำ

         1.4 เมื่อคนร้ายหลบหนีไปแล้วอย่าถามผู้อื่นว่าเห็นอะไรให้รีบบันทึกตำหนิรูปพรรณที่ท่านเห็นและจดจำได้ลงในสมุดหรือกระดาษโดยทันที 
         1.5 มอบรายละเอียดให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้อง
     2. สิ่งที่สามารถจดจำได้ง่ายและควรจดจำก่อน
         
2.1 เพศ เป็นชาย หญิง กะเทย
         2.2 วัยเด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ แก่ ฯลฯ อายุ ประมาณเท่าใด
         2.3 รูปร่าง สูง เตี้ย อ้วน ผอม สันทัด ฯลฯ

         2.4 ผิวเนื้อ ขาว ขาวเหลือง ดำ ซีด เหี่ยวย่น ฯลฯ
         2.5 เชื้อชาติ ดูจากใบหน้า เป็นคนไทย จีนลูกครึ่ง แขก ฯลฯ
         2.6 รูปหน้า รูปไข่ กลม ยาว เหลี่ยม ฯลฯ
         2.7 ผม สั้น หงอก หนา หยิก ตัดทรงอะไร หวีอย่างไร ฯลฯ
         2.8 ปาก กว้าง แคบ ใหญ่ ริมฝีปากหน้า ฯลฯ
         2.9 หู กาง ใหญ่ เล็ก ติ่งหูแหลม ฯลฯ
         2.10 ตา เล็ก โต พอง โปน ตาชั้นเดียว สองชั้น ตาเข สวมแว่นตา แว่นกันแดด ฯลฯ
     3. สิ่งที่เป็นจุดเด่นผิดปกติ ตำหนิที่อาจจดจำได้ง่าย
         
3.1 ตำหนิ แผลเป็นบนใบหน้า ไฝ ปาน หูด เนื้อติ่ง มีลักษณะอย่างไร
         3.2 แผลเป็นมีลักษณะอย่างไร ขนาดเท่าใด อยู่ที่ส่วนไหนของร่างกาย
         3.3 ลายสัก สักรูปอะไร สีอะไร อยู่ที่ส่วนไหนของร่างกาย

         3.4 ความพิการ ตาบอด หูหนวก ใบ้ แขนขาด้วน ลีบ ปากเบี้ยว ฯลฯ
         3.5 ท่าทางการเดิน เดินตัวตรง ตัวเอียง ขากะเผลก
         3.6 สำเนียงการพูด พูดช้า เร็ว ติดอ่าง สำเนียงเป็นคนไทย จีน ฝรั่ง หรือสำเนียงคนภาคใด
         3.7 การกระทำบ่อยๆ สูบบุหรี่จัด พูดเอามือปิดปาก ติดยาเสพติดเวลาพูดเอามือล้วงกระเป๋า
         3.8 การแต่งกาย จดจำเสื้อ กางเกง เช่น แขนสั้น-ยาว ขาสั้น-ยาว ฯลฯ แบบของเสื้อ กางเกง เช่น ยีน เสื้อยึด เสื้อเชิ้ต เครื่องแบบ นักศึกษา สีอะไร ลายแบบไหน มีตัวเลขอะไรหรือไม่ รองเท้าที่สวมเป็นชนิดใด สีอะไร แบบใด
         3.9 เครื่องประดับ มีเครื่องประดับอะไรบ้างที่เห็นได้ชัด เช่น แว่นตา นาฬิกา แหวน สร้อย กระเป๋าถือ
     4. กรณีที่คนร้ายมีการพรางใบหน้า
         
เช่น สวมแว่นตากันแดด สวมหมวกกันน็อค สวมหมวก สวมหน้ากาก คลุมศีรษะด้วยถุง ฯลฯ ก็ให้พยายามจดจำสิ่งที่ใช้พราง และจดจำส่วน อื่นๆ ของร่างกายทิ่ได้พราง และจดจำได้ง่าย ดังที่เคยได้กล่าวมาแล้ว

รูปร่าง  สูง เตี้ย ล่ำสัน ใหญ่ เล็ก อ้วนพุงพลุ้ย อ้วนล่ำ ผอมบาง สันทัด
ผิวเนื้อ  ขาว ขาวเหลือง ดำ ดำแดง ซีด เปล่งปลั่ง เหี่ยวย่น ตกกระ
รูปหน้า  รูปไข่ กลม ยาว สี่เหลี่ยม หน้าอูม หน้ากระดูก
ศีรษะ  โต เล็ก กลม ทุย โหนก เบี้ยว หลิม ล้านอย่างไร
ผม  หงอก หงอกประปราย หนา บาง ดัด หยิก หยักโทรก ย้อม ตัดทรงอะไร หวีอย่างไร
ตา  เล็ก พอง โต โปน ลึก หรี่ ปรือ ตาชั้นเดียว สองชั้น ตาเข เหล่ ถั่ว ตี่ สายตาสั้น ใส่แว่นสีอะไร
คิ้ว  ดก บาง เรียว โค้ง ตรง คิ้วต่อ หางคิ้วชี้ หางคิ้วตก
จมูก  เล็ก ใหญ่ ยาว สั้น ดั้งจมูกราบ ลึก หัก โด่ง สันจมูกตรง โค้ง งอน เหลี่ยม คด ปลายจมูกแหลม บาน เชิด งุ้ม
ปาก  กว้าง แคบ ใหญ่ เล็ก กระจับ ริมฝีปากหนา บาง บาน ยื่น ล่างยื่น
หู  กาง แนบ ใหญ่ เล็ก กลม ยาว ติ่งหูแหลม ติ่งหูย้อย
ตำหนิ  ไฝ ปาน หูด เนื้อติ่ง มีลักษณะอย่างไร สีอะไร อยู่ที่ส่วนไหนของร่างกาย
แผลเป็น  มีลักษณะอย่างไร เกิดจากอะไร ขนาดเท่าไร อยู่ที่ส่วนไหนของร่างกาย
ลายสัก  สักเป็นรูปอะไร สีอะไร อยู่ที่ส่วนไหนของร่างกาย
พิการ  ตาบอด หูหนวก ใบ้ แขน ขาด้วน ลีบ ฯลฯ
ท่าทางการเดิน  เดินตัวตรง ตัวเอียง แอ่นหน้า ก้มหน้า ขากะเผลก เดินเร็ว เดินช้า
ลักษณะนิสัย  อันเป็นเครื่องสังเกต พูดช้า พูดเร็ว ติดอ่าง ลิ้นไก่สั้น สำเนียงแปร่งไปทางภาคอีสาน ภาคเหนือ 
ภาคใต้ พูดไม่ชัดสำเนียงแบบคนจีน แขก ฝรั่ง ฯลฯ เวลาพูดเอามือปิดปาก ออกท่าทาง สูบบุหรี่จัด ติดยาเสพติด สุรา ยานัตถุ์
การแต่งกาย  เสื้อผ้าสีอะไร แต่งแบบไหน แบบนักศึกษา กรรมกร ชาวไร่ ชาวนา ชาวสวน ข้าราชการ นักธุรกิจ เสื้อผ้าสะอาด เรียบ ยับยู่ยี่ ขาด ปะ
เครื่องประดับแต่งกาย  มีเครื่องประดับอะไรบ้าง เช่น นาฬิกาอะไร แว่นตา แหวน สายสร้อย ไม้เท้า ร่ม กระเป๋าถือ ฯลฯ


ยานพาหนะของคนร้ายหรือผู้ต้องสงสัย
     1. มีหลักใหญ่ๆ ดังนี้
         1.1 สังเกตจดจำสิ่งที่ใหญ่เห็นง่ายไปสู่สิ่งที่เล็กเห็นยาก
         1.2 สังเกตจดจำตำหนิ รอยชน สติกเกอร์ จุดเด่นต่างๆ
         1.3 พยายามสังเกต อย่าจดจำทุกสิ่งทุกอย่าง แต่ให้จดจำบางสิ่งที่ท่านจำได้อย่างแม่นยำ
         1.4 เมื่อคนร้ายได้หลบหนีไปแล้วอย่าถามผู้อื่นว่าเห็นอย่างไรให้รีบบันทึกลักษณะเอาไว้ทันที
         1.5 มอบรายละเอียดให้กับตำรวจหรือผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้อง
     2. สิ่งที่สามารถจดจำได้ง่ายและควรจดจำก่อน
         2.1 ประเภทรถจักรยานยนต์ รถเก๋งส่วนบุคคล รถยนต์แท็กซี่สาธารณะ รถบรรทุก รถปิ๊กอัพ รถสามล้อเครื่อง รถจี๊ป ฯลฯ
         2.2 สีของรถเป็นรถสีใด บริเวณใดเป็นสีชนิดธรรมดา ลูไซท์ ฯลฯ
         2.3 ความเก่า-ใหม่ เป็นรถค่อนข้างเก่าหรือใหม่
         2.4 ยี่ห้อ เป็นรถยี่ห้อใด รุ่นปี พ.ศ. ใด (ต้องฝึกดูและจดจำยี่ห้อต่างๆ)
         2.5 หมายเลขทะเบียน ดูได้จากแผ่นป้ายทะเบียน ให้จดจำทั้งตัวอักษรและหมายเลข ถ้าเป็นรถต่างจังหวัดให้จดจำชื่อจังหวัดไว้ด้วย
         แผ่นป้ายทะเบียนรถ ประเภทต่างๆ จะแตก ต่างกันไป เช่น รถเก๋งส่วนบุคคลแผ่นป้ายทะเบียนจะเป็นพื้นสีขาว ตัวเลขและตัวอักษรเป็นสี ดำ (เป็นป้ายของทางราชการ) ติดข้างหน้า-หลัง รถแท็กซี่ แผ่นป้ายทะเบียนจะเป็นพื้นสีเหลือง ตัวอักษรสีดำ ติดทั้งข้างหน้า-หลัง รถจักรยาน- ยนต์ แผ่นป้ายทะเบียนจะเป็นพื้นสีขาว ตัวเลขตัวอักษรสีดำ ติดข้างหลังเพียงแผ่นเดียว
         อนึ่ง ในการสังเกตุแผ่นป้ายทะเบียน พยายามสังเกตุด้วยว่า เป็นแผ่นป้ายที่ติดไว้อย่างหลวมหรือติดอย่างแน่นหนา หรือมีการพรางเลข อักษรของแผ่นป้ายนั้นๆ หรือไม่ด้วยวิธีการใด (ปัจจุบันคนร้ายมักใช้แผ่นป้ายทะเบียนปลอม หรือมีการพรางเลขหมายทะเบียน และตัวอักษรให้ผิด ไปจากความเป็นจริง)
     3. สิ่งที่เป็นตำหนิรอยชนที่เห็นได้ชัด
         3.1 ตำหนิ เช่น กระจกแตก สีลอก มีรอยเจาะที่ตัวถังของรถ ฯลฯ
         3.2 รอยชน รอยบุบ รถมีรอยถูกชนบริเวณใด มากน้อยเพียงใด มีรอยบุบที่ใด
         3.3 จุดเด่น เป็นรถที่แต่งเพื่อใช้แข่งขัน มีเสาอากาศ ติดอุปกรณ์พิเศษต่างๆ กับรถ ฯลฯ
         3.4 สติกเกอร์ ฟิล์มติดสติกเกอร์ บริเวณใด เป็นรูปหรือเครื่องหมาย หรือข้อความใด มีติดฟิล์มกรองแสงมาก-น้อยที่ใด อย่างไร
         3.5 แผ่นป้ายที่ติดกับกระจกด้านหน้า ได้แก่ แผ่นป้ายวงกลม แสดงการเสียภาษี แผ่นป้าย ผ่านเข้า-ออกของสถานที่ต่างๆ บางครั้งระบุชื่อ ไว้ที่แผ่นป้าย ถ้าเห็นให้จดจำไว้ด้วย แผ่นป้ายแสดงสิทธิพิเศษต่างๆ เช่น การจอดรถ การประกันภัย ฯลฯ

การสังเกตยานพาหนะรถยนต์และรถจักรยานยนต์
รถยนต์หมายเลขทะเบียนรถ ตำแหน่งที่ติด ประเภทรถเก่า รถกระบะ รถบรรทุก สีรถ สติกเกอร์ที่ตกแต่ง  ยี่ห้อรถ และรุ่น ตำแหน่งป้ายวงกลม ป้ายผ่านเข้า-ออก สถานที่ส่วนบุคคล ตำแหน่งเสาวิทยุ  โทรทัศน์ ชนิดไฟท้าย รูปลักษณะสิ่ง ประดับ เช่น แขวนหน้ารถ ข้างหน้ารถ
จักรยานยนต์เลขทะเบียน ตำแหน่งที่ติด ประเภท วิบาก ผู้หญิง สีรถ สติกเกอร์ที่ตกแต่ง ยี่ห้อ รุ่น ไฟท้าย บังโคลน ท่อไอเสีย แบบและเสียง

        3.6 เสียงของเครื่องยนต์ แตร จดจำว่าเสียงอย่างไร รถบางประเภท เสียงเครื่องยนต์ เสียงแตรเฉพาะตัว เสียงรถแข่ง รถปกติ รถสามล้อ รถจักรยานยนต์ย่อมแตกต่างกัน บางครั้งได้ยินเสียงยานพาหนะก็อาจสันนิฐานได้ว่าเป็นยานพาหนะอะไร ซี่งต้องอาศัยความชำนาญพอสมควร
ทั้งหมดที่ได้แนะนำมานี้เป็นเพียงแนวทาง ในการที่ท่านจะใช้ในการสังเกต จดจำ ตำหนิ รูปพรรณของบุคคล ลักษณะของยานพาหนะที่ต้องสงสัย การที่ท่านจะจดจำได้ดีนั้นขึ้นอยู่กับว่าท่านมีความสนใจและมีการฝึกฝนในการจดจำตามแนวทางมากน้อยเพียงใด วิธีการฝึกจดจำนั้นไม่ใช่ของยาก ท่านอาจฝึกฝนจดจำบุคคลที่เดินผ่านไปมา หรือยานพาหนะที่ผ่านไปมา แล้วลองบันทึกสิ่งที่ท่านจำได้ แล้วนำไปตรวจสอบกับบุคคล ยานพาหนะ จริง
อย่างไรก็ตาม ข้อสำคัญของการสังเกต จดจำจะเป็นประโยชน์ต่อการสืบสวนของตำรวจ ก็คือข้อมูลที่แม่นยำใกล้เคียงกับความเป็น จริงมากที่สุด
ดังนั้น หากท่านไม่แน่ใจในข้อมูลใดๆ ก็ไม่ควรใช้วิธีเดาหรือคิดเอาเอง เพราะถ้าให้ข้อมูลเหล่านี้กับตำรวจแล้ว อาจทำให้ เกิดการ ไขว้เขว สับสน แก่การปฎิบัติงานของตำรวจอย่างแน่นอนการสังเกตจดจำ

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้